ต้องขอบอกก่อนเลยว่า การทำ SEO On-Page นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในกรณีที่เราวางโครงสร้าง
หรือ กำหนดวิธีการเขียนเนื้อหาผิด ก็อาจจะทำให้อันดับ หรือว่าหน้าเว็บที่เราเขียนบทความนั้น ๆ ติดอันดับใน Google ที่ไม่ดี ก็เป็นได้
ดังนั้นวันนี้เรามา เรียนรู้พื้นฐานการวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้แข็งแกร่งกันก่อนดีกว่าครับ
เทคนิคสำคัญของการทำ On-Page SEO ฉบับแสนง่าย
1.Title Tag ควรมี keyword อยู่ด้วย
ทำไม ถึงต้องมี คีย์เวิดอยู่บน Title ด้วยละ
Google จะได้รู้ว่า เว็บไซต์เราเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ถ้าหากว่าไม่มี ก็จะไม่ดึงมาแสดงผลในการค้นหานั่นเอง
ถ้าเป็นไปได้ keyword ควรจะเป็นคำแรกของ Title Tag ถ้าใส่ได้ก็ยิ่งดี ( ตัวอักษร์สีน้ำเงิน เขาเรียกว่า Title )
2.สร้าง URL ให้ Search Engines และ Users เข้าใจได้ง่าย
ประมาณ 6 เดือนที่แล้ว ผมมั่นใจเลยนะว่า User-Friendly URLs มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะช่วยทำให้อันดับดีขึ้น แต่ตอนนี้ผมก็เริ่มชักไม่แน่ใจแล้วว่า มันจะมีผลต่ออันดับเหมือนเดิมหรือเปล่า
แต่ที่รู้ๆ การเปลี่ยน URL จะมีผลต่อ User อย่างแน่นอน ถ้ามีคีย์เวิร์ดรวมอยู่ใน URL ด้วยจะดีมาก
” การมี Keyword อยู่บน URL ก็คงเหมือนมีศาลพระภูมิตั้งเอาไว้หน้าบ้าน เจ้าที่มีหรือเปล่าไม่รู้ แต่ก็ติดไปก่อนเถอะ กันเหนียว “
3.ใช้แท็ก <H1> ในส่วนของ Headline ของแต่ละหน้า
<H1> จะเป็นตัวบอกว่า เฮ่ย หัวข้อแรกของเว็บคุณเกี่ยวข้องกับอะไร
ยกตัวอย่าง ” ประกันภัยรถยนต์ ” Google ก็จะมองว่า อ๋อ ! เว็บนี้เกี่ยวกับประกันรถ นี่เอง แล้วหลังจากนั้น Google ก็ค่อย ๆไปตรวจดูส่วนอื่น ๆ ต่อ
เช่น Content H2 H3 เนื้อหา เป็นต้น ( เอ่ยลืมบอกไป ถ้า H1 มีคีย์เวิดด้วย จะดีมากเลยนะ เค้าจะได้รู้ไง.. ว่าเว็บเราเกี่ยวข้องกับอะไร )
4.ใช้แท็ก <H2> ในส่วนของ Subheading
คล้ายๆ กับแท็ก <H1> แต่แท็ก <H2> จะช่วยบอกให้ Google ทราบถึงหัวข้อสำคัญรองลงมาจาก Headline 1 นั่นเองครับ ส่วนมากผมจะใส่พวก Long tail keywords
ยกตัวอย่าง
ประกันภัยรถยนต์ ที่ไหนดี , ประกันรถยนต์ ราคาถูก , ซื้อประกันภัยรถยนต์ เป็นต้น
5.ให้ความสำคัญกับ Paragraph แรกของเนื้อหา
ก็อย่างว่า หลังจากที่ Google ดู H1 แล้วว่าเว็บนี้เกี่ยวกับอะไร ต่อมา Google ก็จะมาตรวจว่า เฮ่ย ไอ้เว็บนี้ มันมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือเปล่านะ ! ถ้าไม่มีเจ็บตัวแน่ ๆ
ยกตัวอย่าง
Title มีคีย์เวิด ประกันรถ H1 ก็มีคำว่าประกันรถ แต่ย่อหน้าแรก หรือทั้งบทความ กับไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ประกันรถ เลย แบบนี้มันน่าแปลกใจใช่ไหม.. Google ก็เลยมองว่า ไอ่เว็บนี้มันยังไงชอบกลนะ เอามันไว้เป็นตัวเลือกท้าย ๆน่าจะดีกว่า
สรุป ข้อดีของการมีคีย์เวิดใน Paragraph แรก ในกรณีที่เราลืมใส่ Keyword ใน Meta description Google มักจะดึงข้อความในย่อหน้าแรกไปแสดงบนผลการค้นหา ซึ่ง สามารถทำให้หน้านั้นๆ สามารถติด คีย์เวิดได้หลายๆ คีย์ นั่นเอง
6.ใช้แท็ก alt ในการอธิบายภาพ
ก็อย่างว่านะ Google ยังไม่ฉลาดพอที่จะอ่านรูปภาพว่า เฮ่ย นี่มันตัวอะไร นี่มันเกี่ยวข้องกับอะไร ” ตอนนี้เหมือนจะฉลาดขึ้นแล้วนะ ” แต่ก็ใส่ๆไปเถอะ เพราะบางธุระกิจ ต้องใช้รูปภาพในการนำเสนอ พวกเสื้อผ้าแฟชั่น เสริมความงาม
7.ใช้ Internal Link เชื่อมโยงไปยังเนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภายในเว็บไซต์ของเรา
เรื่องนี้ถือว่าเป็นทีเด็ดของใครหลายๆคน การทำ Internal Link ที่ดีจะทำให้ User อยู่ในเว็บไซต์ของเราได้นานขึ้น แถม Google ก็ชอบด้วย “เมื่อก่อน นักทำ SEO รู้ว่าวิธีนี้ Google ชอบ ก็เลย ใช้ Internal Link ฟุ่งเฟื่อยไปหน่อย “
แต่สมัยนี้ Google ฉลาดมาก ใส่มั่ว แล้วไม่มีประโยชน์กับ User ระวังเอาไว้ให้ดีนะ อิอิๆ
8.Responsive เว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็น
ผมกล้าพูดเลย ถ้าเจอเว็บไซต์ที่ไม่รองรับมือถือ ผมคนแรกละ ที่จะกดปิดคนแรก ต่อให้เว็บคุณดังขนาดไหน ผมไม่เสียเวลาอ่านอย่างแน่นอน
และนี่คือตัวอย่างเว็บที่ ไม่ Responsive
9.ความเร็วของการโหลดหน้าเว็บไซต์
เรื่องความเร็วก็ไม่แพ้กัน ผมเชื่อว่า บางคนกดเข้าเว็บเพื่ออ่านข่าว นับ 1-10 ไม่มาก็ กดปิดกันแล้วใช่ไหม ฮ่า ๆ อย่าให้เรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นกับเว็บของคุณเลย
ถ้าอยากรู้ว่าเว็บของคุณ เร็วหรือไม่เร็ว > Google Page Speed Test
10.เป็นเรื่องของ UX-UI
1.User eXperience หรือ UX
ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ
2.User Interface หรือ UI
การออกแบบอินเตอร์เฟซ หน้าตาเว็บ
สรุปง่าย ๆ ว่า แบ่งเป็น ความสามารถ (ทำอะไรได้บ้าง), การทำงาน (ใช้ดี ใช้ง่าย), ความพึงพอใจ (ใช้แล้วรู้สึกพอใจ)
“ถือถ้าเป็นผมนะ ตรวจหวยกับเว็บนี้แล้วสะดวก รวดเร็ว งวดหน้าผมก็มาเช็คอีก 55+ “
11. ถ้าหากว่ามีปุ่มแชร์ จะดีมาก
ถึงแม้ Google จะบอกว่า Traffic ไม่มีผลที่จะทำให้อันดับดีขึ้น แต่ผมว่าถ้า Traffic ที่มากพอนั้นถือเป็น Signal อย่างหนึ่งที่บอกถึงคุณภาพได้เช่นกัน
ยิ่งเราเขียนดี หรือ แชร์ ออกไป ก็เป็นไปได้ที่มีเว็บไซต์อื่นสร้าง Backlink กับมาที่บทความของเราได้เช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม: Backlink ในรูปแบบต่างๆ
สุดท้ายไม่มีอะไรมาก เขียนไปเขียนมาใช้เวลาเกือบ ช.ม สุดท้ายก็แล้วแต่การปรับแต่ง SEO On-Page เลยนะ ขอให้สนุกกับ การทำ SEO ออนเพจ นะจ๊ะ ด้วยรักและหวังดี
หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะ “พอดีความรู้น้อยแต่อยากแบ่งปัน ^^ “