การทํา SEO ด้วยตัวเอง ตอนที่ 2
หวัดดี ! หลังจากที่ได้เขียนบทความ การทํา SEO ด้วยตัวเอง แบบง่าย ๆ ไม่เก่ง Code ก็ทำได้ EP1 จบกันไปแล้ว ทีนี้ก็มาถึงคราว การทำ SEO ด้วยตัวเอง EP 2 กันดีกว่า เพื่อที่จะไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้กันดีกว่า..
จากบทความเดิมที่แล้ว ผมได้พูดเกี่ยวกับเรื่อง การเลือกประเภทเว็บไซต์ ใช่ไหม ว่าเว็บไซต์เนี้ย.. หลักๆ มันมี กี่ประเภท ทีนี้รู้ใจตัวเองหรือยังว่า เราอยากจะทำ เว็บไซต์แบบไหน ถ้าหากเลือกได้แล้ว เรามาลุยต่อกันเลยจะดีกว่า แต่ก่อนที่เราจะเริ่มกัน สิ่งหนึ่งที่อยากให้รู้ก่อนเลยก็คือ ไอ้เจ้า > SEO เนี๊ย มันคืออะไร
ข้อมูล EP SEO ต่างๆ
การทํา SEO ด้วยตัวเอง แบบง่าย ๆ ไม่เก่ง Code ก็ทำได้ EP1
การทํา SEO ด้วยตัวเอง แบบง่าย ๆ ไม่เก่ง Code ก็ทำได้ EP2
SEO คืออะไรทำไมถึงต้องทำ ?
การทำ SEO ก็พูดง่ายๆ มันคือการปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับ Search Engine ของ Google นั่นเองครับ หรือจะพูดแบบภาษาบ้านๆ เลยก็คือ เป็นการปรับเว็บไซต์ให้ถูกเงื่อนไข ที่ Google กำหนดไว้
( แต่ในปัจจุบัน มีเงื่อนไขการให้คะแนน มากกว่า 200 ปัจจัย ) < อันนี้ผมก็บอกไม่ได้ว่า ทำอะไร แล้วถึงอันดับจะดี ! ต้องลองทดสอบหรือค้นคว้าหากันเอาเอง แล้วกันนะ
สิ่งที่พิมพ์มาเป็นเพียงแค่ความรู้เบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้น อย่าคาดหวังสูง …
แล้วทีนี้ เจ้า Google มันมีกระบวนการทำงานอย่างไรล่ะ.. ?
กระบวนการทำงานของ Google แบ่งออกเป็น 3 ลำดับ
1.การเก็บข้อมูล (Crawl)
Google : จะทำการส่งหุ่นยนต์ หรือ ที่คนในวงการ SEO เรียกกันว่า Googlebot ไปรวบรวมข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ และนำกลับมารายงานให้ Google ทราบ
( Googlebot ไม่ใช่ตัวจัดอันดับนะ หลายๆคนอาจจะเข้าใจผิด )
2.จัดทำดัชนี (Indexing)
พอ GOOGLE ได้ข้อมูลมาแล้ว หลังจากนั้นก็จะทำการวิเคราะห์ หน้าเพจ หรือ หน้าโพสนั้น ๆ ว่า มันเกี่ยวข้องกับ คีย์เวิดอะไร พอเข้าใจแล้ว ก็จะเอาไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลาง
3.ประมวลผลจัดอันดับ (Ranking & Result)
เมื่อมีคนเข้ามาค้นหาข้อมูล ทาง Google ก็จะดึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือ ที่เคยทำดัชนี เอาไว้มาแสดง จะอันดับดี หรือ ไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับ เนื้อหา และ ความน่าเชื่อถือของแต่ละเว็บไซต์ นั่นเอง
สรุปแบบง่ายๆ ก็คือ .. ค้นหา จัดเก็บ ให้อันดับ
GOOGLE BOT จะมีหลักๆ อยู่ 2 ประเภท
1. Freshbot = ลูกกระจ๊อก ทำงานตลอดเวลา บอทตัวนี้ชอบความสดใหม่ เว็บไหนอัพเดทบทความบ่อย ไอเจ้าบอทตัวนี้ ก็เตรียมพร้อม รอถึงหน้าบ้านกันเลยทีเดียว พอได้ข้อมูลเสร็จก็จะไปแจ้งให้ หัวหน้าใหญ่ของ Google ทราบ เพื่อที่จะทำการ จัดทำดัชนี (Indexing) และจัดอันดับ
2. Deepbot = รุ่นใหญ่ ไม่ต้องออกทำงานบ่อย ทำงานเดือนละครั้ง ส่วนมากจะไปตรวจเว็บไซต์ที่ไม่ค่อยอัพเดทเนื้อหา “อาจจะมาฟ้องลูกพี่ใหญ่ว่า ไอนี่มันไม่เอาไหนเลย ยังกับเว็บร้าง” ช่วยทำให้มันกระตือรือร้นหน่อยซิ ลดอันดับแม่งงง เลยลูกพี่ ! ” อันนี้อำเฉยๆ เผื่อลูกพี่คล้อยตาม Deepbot ไม่มีอำนาจใดๆ ในการลดอันดับน้า “
หลังจากที่รู้กระบวนการทำงานของ Google กันไปแล้ว ต่อมาจะเข้าสู่บทการทำ SEO จริงๆแล้ว ปัจจุบันถ้าหากได้อ่านตามเว็บไซต์ทั่วๆไป
ส่วนใหญ่ มักจะมีคนบอกว่า ปัจจัยการทำ SEO จะมีอยู่ 2 ประเภทใช่ไหม ก็คือ On-page Off-page ถูกไหม! แต่ความเป็นจริง มันมีอีกหนึ่งขั้นตอน ที่คนส่วนใหญ่มักจะละเลย นั่นคือ การวางแผน Web Structure นั่นเอง
ปัจจัยการทำ SEO จะมีอยู่ 3 ประเภทครับ
1. Web Structure = จะพูดง่ายๆเลย ก่อนที่เราจะทำอะไร เราก็ควรที่จะวางแผนใช่ไหม คงไม่มีใครออกไปรบ โดยไม่ได้เตรียมแผนใช่ไหมละ ออกไปก็ตายลูกเดียว 55 จริงไหม !
การทำ SEO ก็เช่นเดียวกันครับ ถ้าหากไม่วางแผนให้กับเว็บไซต์ชองเราละก็ ออกไปก็ครึ่งๆ กลางๆ แบบนี้ ล่มอย่างแน่นอนครับ
( อันนี้ต้องขอขอบคุณ ลุงเต่าขเย่าเว็บ ที่ทำให้กระจ่างเรื่องนี้ เพราะตอนแรกผมก็ไม่รู้เหมือนกัน )
ข้อดีของการทำ Web Structure
Web Structure ในสายตา (Users ) ก็คือ เหมือนไปบ้านคนอื่นอะ ไม่ต้องไปถามเลย ว่าห้องน้ำอยู่ตรงไหน เพราะ มีป้ายบอกทาง ให้รับรู้แบบง่ายๆ หาอะไรก็เจอ สะดวกสบาย สดใส
Web Structure ในสายตา (GG ) เก็บข้อมูลง่าย เข้าใจในการทำงานของเว็บไซต์ ไหลลื่น !! GOOGLE เกลียดความซับซ้อน ดังนั้นวางแผนดีๆ เอาให้เข้าใจง่ายๆก็พอ จบ!
2.การปรับแต่งเว็บไซต์ ( On page )
พูดแบบง่ายๆเลย มันก็คือการปรับแต่งเว็บไซต์ ให้ถูกใจ Google และ Users ของเรานั่นเองครับ โดยการปรับแต่ง On-page ที่ดีจะต้อง อิงถึงความสะดวกของผู้ใช้เป็นหลัก เช่น เว็บไซต์ รองรับมือถือ ใช้งานรวดเร็ว มีเนื้อหาที่มีประโยชน์ มีการแทรก Keyword อย่างเหมาะสม Keyword Density ( 2-5%) รวมถึงการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ การทำ On-Page #SEO แบบง่าย ๆ อ่านจบได้ภายใน 5 นาที
3.การโปรโมทเว็บไซต์ ( Off page )
อันนี้ก็เช่นเดียวกันครับ ถ้าจะพูดแบบง่ายๆเลยก็คือ Off page คือกว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ นอกเว็บไซต์นั่นเองครับ แต่ในภาษา SEO เขาจะเรียกว่า Backlink กัน หน้าที่ของ ออฟเพจ ก็คือ เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของเรานั่นเอง รวมไปถึงการดึงคนเข้ามาชมภายในเว็บไซต์ของเรา
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ Off-page SEO คืออะไร ? แล้วมีผลอย่างไรกับการทำ SEO | rungwat